แนวความคิดทางการศึกษาของ COPEL

1. ดีงความสามารถของเด็กออกมา 100%

ระหว่างงานนิทรรศการ Tsukuba Expo ที่จัดขึ้นในปี 1985 มีศาสตราจารย์ท่านหนึ่งนามว่า Nozawa ประสบความสำเร็จเพราะมะเขือเทศธรรมดาๆ โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า Hyponica จากต้นมะเขือเทศโดยปกติออกผลประมาณ 30-40 ลูก แต่ด้วยแนวคิดในการปลูกแบบใหม่ผสมผสานกับการคงสภาพต้นมะเขือเทศให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมนั้น หลังจากที่ทดลองปลุกต้นมะเขือเทศเป็นระยะเวลา 5 ปีปรากฏว่าต้นมะเขือเทศธรรมดาๆนี้สามารถออกผลได้มากถึง 13,000 ผล

แนวคิดนี้สามารถพิสูจน์ได้ว่าทุกๆคนมีความสามารถที่ไม่มีที่สิ้นสุด แต่มนุษย์เมื่อเติบใหญ่แล้วจะใช้สมองและความสามารถเพียงแค่ 5% ของความสามารถทั้งหมดที่มี ลองจินตนาการว่าถ้ามนุษย์สามารถใช้ความสามารถเต็ม 100% จะเพิ่มความเป็นอัจฉริยะและทำอะไรให้โลกใบนี้ได้อีกมาก… แล้วทำไมถึงเป็นการยากมากที่จะดึงเอาความสามารถ 100% ออกมาใช้?

2. มุ่งเน้นการศึกษาที่ให้ความสำคัญกับเด็กและพัฒนาความมั่นใจในตนเองให้กับพวกเค้า

ในทางจิตวิทยา มีคำหนึ่งเรียกว่าการจำกัดทางจิตใต้สำนึก (Psychological Limit) โดยจะส่งผลกระทบโดยตรงถ้าเด็กคิดว่าเค้าไม่มีความสามารถ หรือมีความสามารถอย่างจำกัดที่จะเอาชนะ หรือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ประสบผลสำเร็จ โดยสิ่งที่ตามมาคือ เด็กๆจะไม่สามารถใช้ความสามารถของตนได้อย่างเต็มที่ แต่ในทางกลับกัน ถ้าผู้ปกครองสนับสนุนเค้าและพร้อมสร้างสิ่งแวดล้อมที่เป็นมิตรเพื่อส่งเสริมเค้าให้เกิดความมั่นใจ จะเปิดทางและทำให้ความสามารถที่มีอยู่โดดเด่นขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

3. กระตุ้นการเชื่อมโยงระหว่างสมองซีกซ้ายและซีกขวาเพื่อปลดปล่อยศักยภาพของเด็ก

การเชื่อมโยงสมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวานั้นมีความสำคัญมาก

ทราบหรือไม่คะว่าหลักการทำงานของสมองซีกซ้ายและขวามีความแตกต่างกัน แต่จะมีสมองซีกใดซีกหนึ่งที่ควบคุมการทำงานของเราอย่างเด่นชัดมากกว่าอีกซีกหนึ่งเฉกเช่นเดียวกับมีมือข้างหนึ่งของเราที่ถนัดมากกว่ามืออีกข้าง ยกตัวอย่างเช่น ระหว่างที่ฟังเพลงจะมีทั้งคนที่ใช้สมองซีกขวาเป็นหลักในการฟังเพลงและมีคนที่ใช้สมองซีกซ้ายในการฟังเพลงเช่นกัน แต่ทราบไหมว่า ประมาณ 60% ของสมาชิกวงออเครสต้านั้นจะใช้สมองซีกซ้ายเป็นหลักในขณะที่วาทยากรจะใช้สมองซีกขวาเป็นหลัก สมองซีกซ้ายจะถูกใช้งานได้ดีในบางสถานการณ์ อย่างไรก็ตามเมื่อต้องการทำงานบางอย่างที่ยากและอาศัยความท้าทายที่มากกว่าปกติ สมองซีกขวาจะเข้ามามีบทบาทในการนำพาทันที

อัจฉริยะส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีสมองซีกขวานำเป็นหลัก

ส่วนประกอบของสมองถูกแบ่งออกเป็น Neocortex (logic brain) ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับตรรกะและ old cortex (สมองรับรู้ความรู้สึก) ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องอารมณ์กับสัญชาตญาณ ในทางกลับกัน มนุษย์ที่มีความถนัดทางสมองซีกขวาจะสามารถประยุกต์ทั้งตรรกะและส่วนการรับรู้ความรู้สึกได้ดีในเวลาเดียวกัน ในช่วงเวลาของเด็กวัย 0-3 ขวบ สมองซีกขวาจะเข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก แต่สมองซีกซ้ายจะค่อยๆเข้ามามีบทบาทเมื่อเด็กเติบโตขึ้น โดยส่วนของสมองที่เข้ามามีบทบาทนี้คือ Cerebral Neocortex หรือเรียกสั้นๆว่า logic brain

4. เด็กๆ และผู้ปกครองสามารถแบ่งปันวิธีการเรียนรู้ด้วยกันในห้องเรียน

ในช่วงปี 1980 Roger Sperry ได้รับรางวัลโนเบลสาขาการค้นพบฟังค์ชั่นของสมองที่ทำงานแตกต่างกันระหว่างซีกซ้ายและซีกขวา การพัฒนาค้นคว้าทางด้านสมองไปไกลมากในช่วงปี 1990 ซึ่งเรียกช่วงนั้นว่า “ทศวรรษแห่งการค้นพบทางด้านสมอง” ยิ่งเราเรียนรู้เกี่ยวกับสมองมากแค่ไหน ความสำคัญของช่วงเวลาของเด็กๆกลับมีความโดดเด่นในการเกี่ยวพันกับสมองมนุษย์มากขึ้นเท่านั้น

ในห้องเรียนของ COPEL เราจัดหาสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับผู้ปกครองในการทำกิจกรรมต่างๆกับลูก เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและได้ใช้เวลาที่มีคุณภาพนี้ร่วมกับผู้ปกครอง

การพัฒนาสมอง

5. สนุกที่จะเรียนรู้

”เมื่อตาของเด็กน้อยเป็นประกาย“

ช่วงเวลาของการเป็นทารกเป็นช่วงเวลาที่เด็กอยากรู้อยากเห็น ส่วน Amygdala จากสมองในส่วนของการรับรู้ความรู้สึกจะเป็นตัวชี้นำ ในขณะที่ Tonsillar Nucleus เป็นส่วนหลักในการตัดสินใจว่าเด็กๆรู้สึกชอบหรือไม่ชอบ อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจของเด็กว่าสิ่งนั้นๆน่าสนใจหรือไม่นั้นจะส่งสัญญาณไปสู่การเรียนรู้ ตรงนี้เป็นเวลาที่เรียกว่า Learning mode ซึ่งสมองจะควบคุมอวัยวะทุกส่วนในการเรียนรู้ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเด็กๆรู้สึกสนใจและพยายามจะรับรู้ข้อมูล Neuron จะเกิดการเชื่อมโยงกันอย่างมหาศาล ดังนั้นสิ่งที่สำคัญมากคือจะทำอย่างไรให้กิจกรรมที่เด็กๆเข้าร่วมนั้นมีความน่าสนใจสำหรับเด็กๆตลอดเวลาเพื่อจะสวิทช์สมองเด็กๆเข้าสู่โหมดการเรียนรู้ เวลาที่ดีที่สุดในการดีงดูดความสนใจของเด็กๆคือ อายุบวกช่วงเวลา 1 นาที ยกตัวอย่างเช่น เด็กอายุ 3 ขวบสามารถโฟกัสในกิจกรรมหนึ่งๆได้นานประมาณ 4 นาที นี่คือเหตุผลว่าทำไมเราถึงโฟกัสที่เวลาในการสอนและกิจกรรมต่างๆในห้องเรียน โดยในห้องเรียนของ COPEL นั้น โต๊ะเรียนด้านหน้าเด็กๆเปรียบเสมือนเวที และบทเรียนที่มีการสอนอย่างรวดเร็วโดยคุณครูนั้น สำหรับเด็กๆคือโชว์ที่สนุกสนานนั่นเอง

6. พื้นที่ที่เหมาะสมในการพัฒนาศักยภาพเด็ก

ความลับของการศึกษาในเด็กเล็กคือการเลี้ยงดูและการสอนเด็กเล็ก เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้น ตัวอย่างเช่นการฝึกหัดปลาโลมา สมองของปลาโลมามีขนาดเท่ากับสมองของมนุษย์แต่สมองของมันไม่มีส่วนที่เรียกว่า logical brain จากการทดลองฝึกปลาโลมานั้นมีทริคที่ผู้ฝึกต้องจำไว้ให้ขึ้นใจคือ เมื่อใดที่ให้ปลาโลมาทำสิ่งใดและมันทำพลาด ผู้ฝึกจะต้องเพิกเฉยไม่สนใจในสิ่งที่มันทำพลาด อย่างไรก็ตาม เมื่อให้ปลาโลมาทำสิ่งใดและมันสามารถทำได้ดี ผู้ฝึกต้องให้รางวัลและกล่าวชมเชย

เนื่องจากมนุษย์ไม่ได้พัฒนาในส่วนของ logical brain เมื่อยังอยู่ในวัยเด็กเล็ก วิธีการคิดการของสมองในการรับรู้ความรู้สีกจะใกล้เคียงกับสมองในส่วนการรับรู้ความรู้สึกของปลาโลมา อย่างไรก็ดี มนุษย์มีความแตกต่างอย่างมากในความสามารถที่สามารถเรียนรู้และพัมนาได้ด้วยตนเอง การมีสถานที่ที่เหมาะสมในการเลี้ยงและสอนเด็กเล็กจึงจำเป็นเป็นอย่างยิ่ง ถ้าเด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาความสามารถ พวกเค้าจะสามารถเสริมสร้างศักยภาพของตนได้ 100%

7. ท้าทายเด็กๆให้มีความอยากที่จะมีส่วนร่วม

สภาวะทางจิตใจของเด็กกับผู้ใหญ่แตกต่างกันไหม?

สภาวะทางจิตใจของผู้ใหญ่จะถูกนำพาโดยใช้ตรรกะนำ ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้สูงที่ผู้ใหญ่จะพยายามสอนเด็กโดยใช้ตรรกะของพวกเค้า อย่างไรก็ดี เนื่องจากเด็กๆมีการพัฒนาส่วนสมองในการรับรู้ความรู้สึกก่อน ดังนั้นเด็กๆจึงไม่ทราบตรรกะของวิธีที่ผู้ใหญ่สอน ยกตัวอย่างเช่น ในขณะที่ผู้ปกครองพยายามสอนภาษาญี่ปุ่นกับเด็กๆ ผู้ใหญ่ไม่ควรอธิบายตรรกะเบื้องหลังของการเปลี่ยนรุปประโยคเมื่อใช้ในช่วงเวลาต่างกัน แต่จะทำให้เด็กเข้าใจง่ายกว่าถ้าใช้กิจกรรมการเล่นกับคำอย่างเป็นธรรมชาติหลังจากได้ยินมาหลายๆครั้ง

ความสามารถทางสมองของเด็กๆสามารถสร้างตรรกะได้เองโดยไม่ต้องเรียนรู้ว่าต้องทำอย่างไร

ผู้ปกครองส่วนใหญ่ไม่รู้วิธีที่ถูกต้องในการสอนเด็กๆ และในหลายๆครั้งใส่สื่อ การสอน หรือข้อมูลที่ผู้ใหญ่ได้รับมาในการสอนเด็กๆ สิ่งที่เกิดขึ้นคือเด็กๆจะเริ่มสูญเสียศักยภาพในการรับรู้ทางธรรมชาติ ถ้าช่วงเวลาที่สำคัญนี้ผ่านไป มันจะเป็นการยากมากที่จะกู้มาได้อีกครั้ง COPEL เชื่อว่าความสำคัญของเด็กๆในการพัฒนาสมองและภาวะทางด้านอารมณ์คือการทำให้เด็กๆมีความสุขและกระตุ้นการเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน

8. การปลูกฝังศักยภาพอย่างเต็มเปี่ยมให้เด็กๆ

ปลูกฝังและส่งเสริมการพัฒนาสมององค์รวมโดยเน้นความสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพระหว่างสมองซีกซ้ายและสมองซีกขวา

นอกจากความฉลาดทางเชาว์ปัญญาแล้ว ความสำคัญทางด้านสติปัญญานั้นรวมถึงความฉลาดทางด้านอารมณ์และความฉลาดในการปรับตัวเข้ากับสังคมซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่นำมารวมด้วย เราไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าการศึกษาเพื่อพัฒนาเชาว์ปัญญาให้เฉียบคมนั้นมีความสำคัญมาก แต่เหนือสิ่งอื่นใดการให้ความรู้เกี่ยวกับศีลธรรมและจริยธรรมเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

ในการทำงานของสมององค์รวมมีความจำเป็นมากในการบาลานซ์สมองทั้งส่วนตรรกะและการรับรู้ความรู้สึกให้ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสมองส่วนการรับรู้เรียกว่า symbiotic brain (สมองแห่งการพึ่งพิง) หรืออยู่ในสถานะที่เรียกว่า “ทุกๆสิ่งเป็นหนึ่งเดียว” นักวิจัยค้นคว้าสังเกตุพฤติกรรมการอยู่ร่วมกันของปลาโลมา ซึ่งปลาโลมาไม่มีส่วนสมองที่เรียกว่า logic brain แต่จะมีเฉพาะส่วนสมองสำหรับการรับรู้ความรู้สึกเท่านั้น สิ่งที่ปรากฏคือปลาโลมาทั้งฝูงจะไม่แย่งกันและจะอยู่รวมกันเป็นฝูงโดยไม่มีผู้นำกลุ่ม โดยจากสมมติฐานของนักวิจัยค้นพบว่าปลาโลมาจะปฏิบัติกับปลาในฝูงเหมือนเป็นตนเอง

เราเชื่อว่าสมองที่มีการพัฒนาทางด้านอารมณ์ดีในระดับหนึ่งจะช่วยปลูกฝังบุคลิกภาพที่ดีเยี่ยม Matsui Hideki นักเล่นตัวหลักของทีมเบสบอลที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่นชื่อว่า Godzilla Major Leaque ได้กล่าวว่า “เราไม่จำเป็นต้องทำอะไร เช่นยกมือให้สูงเพื่อโชว์ว่าชัยชนะนั้นอยู่ในมือแล้ว เพราะว่าการกระทำแบบนี้ ไม่ได้เป็นมารยาทอันดีต่อคู่แข่งเลยแม้แต่น้อย“ ในสถานการณ์นี้ Hideki ตระหนักดีว่าคู่แข่งของเค้าคือเพื่อนที่เล่นเบสบอลมาด้วยกัน เหมือนปลาโลมาที่คิดว่าฝูงของมันคือตัวมันเอง นี่คือตัวอย่างทีเน้นถึงสมองส่วนของการรับรู้ด้านอารมณ์ ดังนั้นเราจึงคาดหวังให้เด็กๆสามารถปฏิบัติกับผู้อื่นด้วยความดีและโอบอ้อมอารี ในขณะที่ยังมีคุณสมบัติของการมีจิตวิทยาที่ดีในเวลาเดียวกัน COPEL เชื่อว่าการพัฒนาสมองให้สมดุลกันระหว่างสมองทางด้านตรรกะศาสตร์ กับสมองส่วนการรับรู้ทางด้านอารมณ์ จะทำให้เด็กๆมีรอยยิ้มที่มีความสุขและเผื่อแผ่สิ่งดีๆให้ทุกๆคนบนโลกใบนี้

Scroll to Top